-- * Story of My Life * --
PouNdPoN (●>ω<●)

Saturday, June 27, 2009

คุณจะใช้บารอมิเตอร์วัดความสูงของตึกได้อย่างไร

คำถามนี้อาจจะเป็นคำถามที่ไม่น่าถามเลย ถ้าคุณได้เรียนวิชาฟิสิกส์มาแล้ว
หลายๆคนมีคำตอบในใจแล้ว ตามที่ได้เรียนมา

แต่เมื่อคำถามนี้ได้มาอยู่ในวิชา innovative thinking มันจะต้องไม่ธรรมดาแน่นอน

คุณก็ต้องลองคิดดีๆอีกที ว่าเราสามารถใช้บารอมิเตอร์วัดความสูงได้ยังไง
(โดยไม่ได้อยู่แค่ในกรอบของวิชาฟิสิกส์)
ทีนี้คุณก็อาจจะพบว่า มันมีหลายคำตอบมาก

คุณอาจจะเอาบารอมิเตอร์ทิ้งดิ่งลงมา วัดเวลา คำนวณก็ได้
หรือตามแบบฟิสิกส์ เอาบารอมิเตอร์ไปวัดที่ยอดตึก รู้ความสูงของปรอท ก็รู้ความสูงของตึกได้จากการคำนวณ
หรือคุณอาจจะเอามันมาวัดเหมือนไม้บรรทัดก็ได้
หรือคุณอาจจะเอาเชือกมาผูกติด และหย่อนมันลงมาจากยอดตึก แล้วจึงวัดความยาวเชือกก็ได้
มีคำตอบอีกมากมาย

เนื่องจากเราได้รับการสอนแนวทางมาในการใช้ความคิดในด้านต่างๆ เช่น จากตัวอย่างการใช้บารอมิเตอร์ในวิชาฟิสิกส์
ก็จะทำให้เราตีกรอบความคิดของเราเอง

ลองคิดดูสิว่า ถ้าเราไม่เคยเรียนมาว่าบารอมิเตอร์ใช้อย่างไร แล้วอาจารย์สั่งให้เราวัดความสูงของตึก
ทีนี้ ทุกคนก็จะได้คำตอบที่หลากหลาย

จากที่ได้เรียน innovative thinking 4 ก็ได้รู้ว่า คนเรามี 2 ประเภท แยกโดยการหาคำตอบ
นั่นคือ
1. พวก satisfier จะเป็นพวกที่ได้รับการสอนมา ก็จะตีกรอบความคิดของตนเอง
เหมือนกับคนที่หาเข็มในกองฟาง เมื่อพบเข็มเล่มแรกก็จะหยุดหาทันที

2. พวก optimizer จะเป็นพวกมองปัญหาในมุมมองต่างๆ ไม่ตีกรอกความคิดและมุมมองของตนเอง
เหมือนกับคนที่หาเข็มทุกเล่มที่มีอยู่ในกองฟาง (อาจจะเพื่อหาเล่มที่ดีที่สุด)

พวกนักวิทยาศาสตร์ที่ดังๆ เช่น Einstein มีบทความที่ตีพิมพ์มากกว่า 240 บทความ
แต่ก็มีที่ดังๆ ที่เรารู้จักกันก็ไม่กี่อัน

หรือ Edison จดสิทธิบัตรไปถึง 1,093 ฉบับ
โดย Edison นั้นมีคติว่า
"ต้องคิดผลงานใหญ่ๆทุก 6 เดือน และคิดผลงานเล็กๆ ทุก 10 วัน"

การปล่อยความคิดเล็กๆให้ผ่านไป ความคิดเล็กๆอันนั้นที่เราปล่อยให้หายไป อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้
เราต้องคิดหลายๆความคิด เพื่อหาอันที่ดีที่สุดออกมา
ดังคำกล่าวของ Linus Pauling ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัล Nobel

"The best way to get a good idea is to get a lot of ideas."

ดังนั้นหากคุณต้องคิด ตัดสินใจอะไร ก็ลองคิดหลายๆมุมมองดู
คุณอาจจะได้คำตอบที่ดีที่คุณอาจจะคิดไม่ถึงก็ได้

และสุดท้ายมีกิจกรรมเพื่อพัฒนาตัวเองมาฝาก
นั่นคือ
กิจกรรม ILP "เรียนเก่งอย่างมีความสุขด้วย mindmap"
จัดขึ้นวันที่ 28-29 กค 2552 เวลา 1-4 pm
ลองเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.gened.chula.ac.th

No comments:

Post a Comment